ビジネスマッチングトップ

Business matching

จับคู่ธุรกิจ

ビジネスマッチング1

ทางศูนย์ฯมีที่ปรึกษาด้านการจับคู่ธุรกิจประจำที่สำนักงาน2ท่านซึ่งมีความคุ้นเคยกับธุรกิจในประเทศไทย ทำหน้าที่ประสานงานจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการญี่ปุ่นและผู้ประกอบการไทย

ข้อกำหนดการสนับสนุน
- เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีสาขาในประเทศไทยหรือประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีบริษัทแม่หรือสาขาที่จดทะเบียนในกรุงโตเกียว
- เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขาในประเทศไทยหรือประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีบริษัทแม่ที่จดทะเบียนในกรุงโตเกียว และมีความตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการ SMEs ในกรุงโตเกียว
- เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีบริษัทแม่หรือสาขาที่จดทะเบียนในกรุงโตเกียว
เนื้อหาการสนับสนุน
- การจับคู่ธุรกิจในประเทศไทย (OEM, การจัดซื้อในท้องถิ่น, การขยายตลาด เป็นต้น)

ขั้นตอนการสนับสนุน

1
รับแบบฟอร์มการสมัครเพื่อขอรับการสนับสนุนการจับคู่ธุรกิจ
2
ตรวจสอบเนื้อหา
3
ตอบรับ/ปฏิเสธคำขอ
4
รวบรวมรายชื่อบริษัทคู่ค้า
5
ติดต่อบริษัทคู่ค้า
6
ดำเนินการจับคู่ธุรกิจ
7
ติดตามผลหลังดำเนินการจับคู่ธุรกิจ

※1:ทางศูนย์ฯไม่รับประกันว่าจะสามารถจับคู่ธุรกิจหรือรวบรวมรายชื่อบริษัทคู่ค้าให้ได้แน่นอน
※2:การตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจเป็นสิทธิของบริษัท ที่ปรึกษาของเราสามารถให้คำแนะนำด้านการบริหารธุรกิจได้ แต่จะไม่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการในธุรกิจนั้นๆ

การสนับสนุนด้านการเจรจาจับคู่ธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร

食ビジネス支援バナー

เพื่อเป็นการตอบรับนโยบาย Thailand 4.0 ในการแก้ไขข้อปัญหาและยกระดับคุณภาพของผู้ประกอบการด้านอาหารของประเทศไทย Tokyo SME Support Center ได้ดำเนินการสนับสนุนโดยรับฟังข้อปัญหาของผู้ประกอบการไทยอย่างรอบคอบ และจัดให้เกิดการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นเพื่อแก้ไขข้อปัญหาเหล่านั้น นอกจากนี้เรายังให้การสนับสนุนผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ โดยช่วยหาแหล่งผลิตและสร้างให้เกิดความร่วมมือกับผู้ประกอบไทย

◆ ประเด็นหลักในการเจรจาจับคู่ธุรกิจ

เครื่องจักรและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การจับคู่กับ SMEs ในกรุงโตเกียวที่มีเครื่องจักร บรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่ม
มูลค่าสินค้า
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
การจับคู่ SMEs ในกรุงโตเกียวกับผู้ประกอบการไทยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
การสนับสนุน OEM
การจับคู่ SMEs ในกรุงโตเกียวที่ต้องการหาแหล่งผลิตในประเทศไทยกับผู้ประกอบการไทย
และการจับคู่ระหว่างผู้ประกอบการไทยที่ต้องการว่าจ้างผลิตในประเทศญี่ปุ่นกับ SMEs ในกรุงโตเกียว

◆ เสน่ห์ของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยและนโยบาย Thailand 4.0

อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย มีการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในประเทศไทย 1,031,956 ล้านบาทต่อปี (ประมาณ 3.5 ล้านล้านเยน) (2018) และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสภาพแวดล้อมด้านอาหารมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯซึ่งคาดว่าเกิดจากความตื่นตัวด้านสุขภาพ การเติบโตของตลาดอาหารพร้อมทานและสังคมผู้สูงวัย
ปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 เพื่อยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมของประเทศไทยและคาดหวังว่าจะมีการเติบโตต่อไปในอนาคต

◆ ความสามารถทางเทคโนโลยีของ SMEs ในกรุงโตเกียว

เป็นที่กล่าวขานกันว่าผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมีความเข้มงวดด้านผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุดในโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านอาหารของญี่ปุ่นซึ่งเติบโตมาท่ามกลางความเข้มงวดนี้ได้พัฒนาและมีเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยมเป็นของตนเอง และมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เครื่องแปรรูปอาหารด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง แพ็คเกจที่สวยงามและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก และมีความสามารถทางเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในอนาคตได้ เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

ที่ปรึกษาด้านการเจรจาจับคู่ธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร

マッチングアドバイザー

  • イメージ1

    คัทสึตะ ทะทะระ
    (Katsuta Tatara)

ขั้นตอนการสนับสนุน

1
รับฟังและคัดกรองข้อปัญหาของผู้ประกอบการไทย
2
รับแบบฟอร์มการสมัครเพื่อขอรับการสนับสนุนการเจรจาจับคู่ธุรกิจ
3
ร่วมมือกับฝั่งญี่ปุ่นและจัดให้เกิดการเจรจาทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
4
ติดตามผลหลังดำเนินการเจรจาจับคู่ธุรกิจ

※1:ทางศูนย์ฯไม่รับประกันว่าจะสามารถจับคู่ธุรกิจหรือรวบรวมรายชื่อบริษัทคู่ค้าให้ได้แน่นอน

※2:การตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจเป็นสิทธิของบริษัท ที่ปรึกษาของเราสามารถให้คำแนะนำด้านการบริหารธุรกิจได้ แต่จะไม่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการในธุรกิจนั้นๆ