Tokyo SME Blog Detail

2020 09.21

คิดว่าทางเท้า (ฟุตบาธ) ของไทยจะสามารถพัฒนาให้เดินสะดวกขึ้นได้หรือไม่? (2/2)

หลายคนมีความเห็นว่า “ทางเท้าดี=ประเทศพัฒนา” ยกตัวอย่างเช่น กรุงโตเกียว กรุงลอนดอน
เมืองพอร์ตแลนด์ เป็นต้น เมืองเหล่านี้ล้วนเป็นเมืองที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้การเดิน จักรยาน และ
ระบบขนส่งมวลชนเป็นวิธีการหลักในการเดินทาง ซึ่งส่งผลให้เมืองเหล่านี้ กลายเป็นเมืองที่
ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง สภาพแวดล้อมน่าอยู่ และเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง

จากงานวิจัยหลากหลายแห่ง พบว่าหากเราสามารถพัฒนาปรับเปลี่ยนเมืองให้กลายเป็นเมือง
ที่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบาย สามารถเดินได้ง่ายขึ้นนั้น จะมีข้อดีหลักๆ
ที่เห็นได้ชัดเจนอยู่ 3 ข้อด้วยกันคือ1. คนในพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรค
อ้วนได้ถึง 10 % และสามารถเผาผลาญแคลลอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ในมุมเศรษฐกิจ
เมืองที่มีการลงทุนพัฒนาปรับปรุงทางเท้า ทางจักรยาน โดยเฉพาะในย่านพาณิชย์ พบว่า
สามารถดึงดูดให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยได้ง่ายมากขึ้น และมีความถี่ในการใช้จ่ายสูงกว่าผู้ที่ขับขี่
รถยนต์ 3. ด้านสังคม พบว่าคนในพื้นที่มีแนวโน้มที่จะรู้จักย่านตัวเองในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
มีความห่วงใยในสภาพแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่ และได้พบปะกับเพื่อนบ้าน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่
สำคัญมาก เนื่องจากทำให้ชุมชนมีความปลอดภัยและน่าอยู่

อย่างไรก็ตาม ผลจากงานวิจัยจากศูนย์การออกแบบและพัฒนาผังเมืองและสำนักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำให้ทราบว่าคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,111 คน พร้อม
ที่จะเดินทางด้วยเท้า โดยระยะทางที่พร้อมจะเดินคือ 800 เมตร (ประมาณ 10 นาที) ซึ่งสูสีกับ
ญี่ปุ่นที่ 820 เมตร และอเมริกาที่ 805 เมตร

งานนี้สะท้อนให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ พร้อมที่จะเดินแล้ว แล้วทางเท้าและสภาพแวดล้อมใน
กรุงเทพฯ ล่ะ พร้อมจะให้เราได้เดินเมื่อไหร่กัน

Tokyo SME Support Center Thailand Branch Office ชมพูนุช (อิง)

Latest Information