Tokyo SME Blog Detail

2020 06.22

แบคทีเรียแลคติกที่ตายแล้ว คืออะไร? (1/2)

ทุกวันนี้มีผู้ประกอบการไทยที่ให้ความสนใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลเรื่องสุขภาพ
และความงามมากขึ้น ทางศูนย์ฯ เอง ได้มีโอกาสแนะนำบริษัท Broma Laboratory
ผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องแบคทีเรียแลคติกให้กับผู้ประกอบการ
ไทยผ่านภารกิจสนับสนุนการเจรจาธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารของศูนย์ฯ โดยระหว่าง
การเจรจาธุรกิจนั้น ได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับแบคทีเรียดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้ได้มา
เขียนบทความแนะนำนี้

ภายในลำไส้ของคนเรานั้น มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และไม่ก่อประโยชน์แก่ร่างกาย
อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยภาวะความเครียด อาหารที่เรารับประทาน หรือสภาพแวด-
ล้อมรอบตัวเรา สามารถทำให้จุลินทรีย์เหล่านั้นเสียสมดุลได้ หากจุลินทรีย์เกิดการเสีย
สมดุลขึ้น อาจส่งผลให้สุขภาพของเราเสื่อมโทรมลง โดยการดูดซึมแบคทีเรียแลคติก
ในรูปแบบอาหารเข้าสู่ร่างกาย ถือเป็นตัวแปรที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่รู้จักกันอย่าง
กว้างขวาง สามารถช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์เหล่านี้ให้สามารถอาศัยอยู่ภายในลำไส้
ของเราได้

แบคทีเรียแลคติกนั้น แบ่งออกเป็น “จุลินทรีย์ที่ยังไม่ตาย” และจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวน
การความร้อนหรือกระบวนการฆ่าเชื้อจนกลายเป็น “จุลินทรีย์ที่ตายแล้ว” โดยปกติแล้ว
จะถูกดูดซึมเข้าร่างกายผ่านต่อมน้ำเหลืองเล็กๆ กว่า 200 ต่อมในช่องท้องของเรา
(Peyer’s Patch) และถูกนำไปใช้งานโดยเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้เกิดคุณ
ประโยชน์ต่างๆ ต่อร่างกายของเรา

การทำงานของแบคทีเรียแลคติกทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกันอยู่ แต่ถ้ามองในมุมที่
สนับสนุนจุลินทรีย์ที่ดีนั้น ประโยชน์ที่รับได้จะไม่แตกต่างกัน โดยมีประสิทธิภาพในการ
เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย สามารถช่วยปรับปรุงระบบลำไส้ แก้อาการท้องผูก ป้องกัน
การอักเสบ อาการภูมิแพ้ การแพ้เกสรดอกไม้ เซลล์เนื้องอก และป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
เป็นต้น

Tokyo SME Support Center Thailand Branch Office ชมพูนุช (อิง)

Latest Information